วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

ดาหลา : ไม้ดอกไม้ประดับ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Etlingera elatior [Jack] R. M. Smith.

ชื่อสามัญ: Torch Ginger

ชื่อท้องถิ่น: กากลา กะลา

ลักษณะวิสัย: ไม้ล้มลุก

ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปขอบขนาน ปลายแหลมก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อแทงก้านดอกจากเหง้าใต้ดิน กลีบประดับ
ช้อนกันหลายชั้น ลดขนาดเล็กลงในวงชั้นใน สีชมพูถึงแดงเข้ม ออกดอกตลอดปี

ต้น : เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ตาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ
ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบช้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม

ใบ : มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างและค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบไม่มีก้าน ใบผิวเกลี้ยงทั้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30 - 80 เซนติเมตร กว้าง 10 - 15
เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบเรียว ลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ

ดอก : ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ head ประกอบด้วยกลีบประดับ มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่มีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร จะมีสีแดงขลิบขาวเรียวซ้อนกันอยู่ และจะบานออก ประมาณ 25 -30 กลีบ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเล็กเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300 - 330 กลีบ

ประโยชน์และสรรพคุณ : ดอก ดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เนื่องจากดอกดาหลามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้

การกระจายพันธุ์: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หมู่เกาะแปซิฟิก ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น