วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ไอศกรีม

ไอศกรีมเป็นอาหารสุดโปรดของเด็กและผู้ใหญ่ในเมืองร้อนอย่างเมืองไทยมานมนานแล้วแต่โบราณมา
สัญญาณ ที่บอกให้ทราบว่ารถเข็นขายไอศกรีมมา ก็คือ เสียงกระดิ่ง กริ่ง หรือแตรลม ปัจจุบันนี้ก็วิวัฒนาการมาเป็นเสียงดนตรีที่เรียกร้องความสนใจทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่ได้ไม่แพ้ของเดิม

“ไอศกรีม” เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า ‘Ice cream’ แต่คนไทยกลับนิยมเรียกทับศัพท์แบบภาษาอังกฤษ คือ ไอศกรีมหรือบางทีก็เรียกง่ายๆ เป็น “ไอติม” เสียเลย จุดกำเนิดของไอศกรีมเริ่มที่ประเทศอิตาลีในราวคริสตศตวรรษที่ 16 โดยมีวิวัฒนาการมาจากการเติมน้ำนมลงในน้ำแข็งแท่ง จึงได้ชื่อว่า Ice cream ในบ้านเราได้กำหนดให้ไอศกรีมเป็นอาหารควบคุมเฉพาะและมีอักษรย่อของผลิตภัณฑ์ ว่า “อ” ตามพระราชบัญญัติอาหารปี พ.ศ. 2522 ได้แบ่งไอศกรีมเป็น 5 ชนิด ดังนี้
1. ไอศกรีมนม
2.ไอศกรีมดัดแปลง
3. ไอศกรีมผสม
4. ไอศกรีมหวานเย็น
5. ไอศกรีมเหลวหรือผงแห้ง

ความหมายที่กฎหมายกำหนด
ไอศกรีมนม หมายถึง ไอศกรีมที่ทำขึ้นโดยใช้นมหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม ส่วนไอศกรีมดัดแปลง คือ ไอศกรีมที่ทำขึ้นโดยใช้ไขมันชนิดอื่นแทนมันเนยทั้งหมด หรือแต่บางส่วนหรืออาจทำจากวัตถุดิบอื่นที่ตามธรรมชาติมีไขมันอยู่แต่ไม่ใช่ นม เช่น ไอศกรีมที่ผสมน้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันมะพร้าว ไอศกรีมกะทิ เป็นต้น ส่วนไอศกรีมผสม คือ ไอศกรีมนมหรือไอศกรีมดัดแปลงที่มีการผสมน้ำผลไม้ เนื้อผลไม้ ถั่ว ช็อกโกแลต และส่วนผสมอื่นๆ

ไอศกรีมหวานเย็นเป็นไอศกรีมที่ไม่มีส่วนผสมของนม ซึ่งทำจากน้ำตาล แล้วเติมสี กลิ่น รส หรือน้ำผลไม้ โรงงานไอศกรีมส่วนใหญ่ในบ้านเรามักผลิตไอศกรีมทั้ง 4 ประเภทจำหน่ายในท้องตลาด เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตและอุปกรณ์การผลิตคล้ายคลึงกัน

ส่วนไอศกรีมชนิดผงหรือเหลวนั้น เป็นส่วนผสมของสิ่งที่ต้องใช้ในการทำไอศกรีมชนิดต่างๆ ที่กล่าวมาโดยจำหน่ายในรูปของผง ซึ่งต้องนำไปเติมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด แล้วนำไปปั่นทำให้แข็งหรือแช่เย็นให้แข็งก่อนนำไปบริโภค หรืออาจจำหน่ายในรูปของเหลว ซึ่งนำไปปั่นหรือแช่แข็งได้เลย ไอศกรีมชนิดนี้อาจเรียกว่า กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งไม่ค่อยมีจำหน่ายแพร่หลายในบ้านเรานัก

แม้ว่ากฎหมายได้กำหนดชนิด ไอศกรีมไว้ดังกล่าวมาแล้ว แต่เท่าที่สังเกตดูในท้องตลาดก็จะเห็นว่าผู้ผลิตยังนิยมที่จะระบุถึงชนิดของ ไอศกรีมว่าเป็นนม หรือดัดแปลงมากกว่าที่จะระบุว่าเป็นไอศกรีมผสมเฉยๆ ตัวอย่างเช่น ไอศกรีมดัดแปลงผสมสตอเบอร์รี่ ซึ่งนับว่าเป็นการดี เพราะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงส่วนผสมโดยละเอียดมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น